เลขาธิการสหประชาชาติ (United Nations Secretary-General) เป็นชื่อเรียกตำแหน่งหัวหน้าของสำนักงานเลขาธิการแห่งสหประชาชาติ ซึ่งเป็นองค์กรหนึ่งของสหประชาชาติ โดยตามกฎบัตรสหประชาชาติ การแต่งตั้งเลขาธิการสหประชาชาติจะต้องได้รับมติจากสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติตามคำแนะนำของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่จะเป็นฝ่ายเสนอตัวบุคคลที่มารับตำแหน่งนี้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นตำแหน่งที่มีบทบาทสูงสุดในองค์การสหประชาชาติ

เลขาธิการสหประชาชาติจะดำรงตำแหน่งวาระละ 5 ปี โดยจะดำรงตำแหน่งคนละหนึ่งหรือสองสมัย และตามธรรมเนียมแล้ว จะต้องไม่เป็นบุคคลจากประเทศสมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคง นอกจากนี้ก็เป็นที่เข้าใจกันว่า บุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งคนต่อไปจะต้องมาจากประเทศนอกทวีปของเลขาธิการคนล่าสุด

ผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการแห่งสหประชาชาติคนปัจจุบันคือ พัน กีมุนจากประเทศเกาหลีใต้ จะเป็นผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการแห่งสหประชาชาติคนที่ 8 ต่อไป

ส่วนผู้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการสหประชาชาติคนปัจจุบัน คือ มาร์ค มัลลอร์ช บราวน์ ซึ่งโดยปกติจะลาออกพร้อมกับการหมดวาระของเลขาธิการสหประชาชาติ เพื่อเปิดทางให้เลขาธิการคนใหม่แต่งตั้งรองเลขาธิการคนต่อไปด้วยตนเอง

รายชื่อเลขาธิการสหประชาชาติ

# ภาพถ่าย เลขาธิการ ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง ประเทศ หมายเหตุ
Sr. Gladwyn Jebb.jpg แกลด์วิน เจบบ์
(Gladwyn Jebb)
24 ตุลาคม พ.ศ. 2488 –
2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489
Flag of the United Kingdom สหราชอาณาจักร ทำหน้าที่เลขาธิการในช่วงก่อตั้ง
1 Trygve Lie.jpg ทรีฟ ลี
(Trygve Lie)
2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 –
10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495
ธงชาติของนอร์เวย์ นอร์เวย์ ลาออก  
2 Dag Hammarskjold.jpg ดั๊ก ฮัมมาโชลด์
(Dag Hammarskjöld)
10 เมษายน พ.ศ. 2496 –
18 กันยายน พ.ศ. 2504
ธงชาติของสวีเดน สวีเดน เสียชีวิตในอุบัติเหตุเครื่องบินตกที่โรดีเชียเหนือ
(ปัจจุบันคือ ประเทศแซมเบีย)
 
3 U-Thant-10617.jpg อู ถั่น
(U Thant)
30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504 –
31 ธันวาคม พ.ศ. 2514
ธงชาติของประเทศพม่า พม่า สละสิทธิ์หลังครบวาระที่สองด้วยเหตุผลส่วนตัว  
4 Bundesarchiv Bild 183-M0921-014, Beglaubigungsschreiben DDR-Vertreter in UNO new.png เคิร์ท วัลไฮม์
(Kurt Waldheim)
1 มกราคม พ.ศ. 2515 –
31 ธันวาคม พ.ศ. 2524
ธงชาติของออสเตรีย ออสเตรีย จีนใช้สิทธิ์วีโต้ในการดำรงตำแหน่งสมัยที่สาม  
5 Javier Pérez de Cuéllar.JPG ฮาเวียร์ เปเรซ เดอเควลยาร์
(Javier Pérez de Cuéllar)
1 มกราคม พ.ศ. 2525 –
31 ธันวาคม พ.ศ. 2534
ธงชาติของเปรู เปรู ปฏิเสธที่จะดำรงตำแหน่งต่อเป็นวาระที่สาม  
6 Boutros Boutros-Ghali in Davos.JPG บูทรอส บูทรอส-กาลี
(Boutros Boutros-Ghali)
1 มกราคม พ.ศ. 2535 –
31 ธันวาคม พ.ศ. 2539
ธงชาติของอียิปต์ อียิปต์ สหรัฐอเมริกาใช้สิทธิ์วีโต้ในการดำรงตำแหน่งสมัยที่สอง  
7 Kofi Annan.jpg โคฟี แอนนัน
(Kofi Annan)
1 มกราคม พ.ศ. 2540 –
31 ธันวาคม พ.ศ. 2549
ธงชาติของกานา กานา  
8 Bankimoon.jpg พัน กีมุน
(Ban Ki-moon)
1 มกราคม พ.ศ. 2550 –
ปัจจุบัน
ธงชาติของเกาหลีใต้ เกาหลีใต้

ใส่ความเห็น